
หากใครได้ชม “เดี่ยว 8” ของ “โน้ส อุดม เเต้พานิช” ผู้บุกเบิกเเละเป็นเจ้าพ่อตลกสเเตนด์อัพ คอมเมดี้ ในเมืองไทย นั่งๆ ดูไปสังเกตได้ชัดว่ามีอยู่ “มุข” หนึ่งไม่ค่อยตลก เเต่ออกจะไปทางให้ความรู้เชิงวิทยาศาสตร์ด้วยซ้ำ จนทำให้กลุ่มผู้ฟังนั่งเงียบ-อึ้งกันไปทั้งโรง
นั่นคือมุขที่คุณโน้สให้ข้อมูลบอกว่า อันกระดาษ ทิ ช ชู “สีชมพู” ที่เราเห็นวางกันตามร้านข้าวเเกง ร้านก๋วยเตี๋ยว ฯลฯ นั้น เเท้จริงเเล้วมันมีที่มาจาก “กระดาษ เอ 4” เปื้อนหมึก ซึ่งเอามาผ่านกระบวนการรีไซเคิลใหม่
เเล้วคุณโน้สก็ตบมุขเนียนๆ ว่า ตามร้าน อ า ห า ร ทั่วๆไป หรือจะเป็นร้าน อ า ห า ร ตามข้างทาง หรือว่าโต๊ะจีน อาจจะปฏิเสธไม่ได้ว่าจะไม่เห็น กระดาษ ทิ ช ชู่ สีชมพูดูน่ารัก เเล้วเราก็เกิด อ า ก า ร คันไม้คันมือ อยากจะทำอะไรสักอย่างกับกระดาษ ทิ ช ชู่ อันนี้
เเล้วพอบริกรเอาจานกับช้อนส้อมมาวางเราก็จะ…….? ใช่เเล้ว เอากระดาษ ทิ ช ชู่ อันนั้นมาเช็ดช้อนส้อม จานหรือว่าเเก้วน้ำที่เราจะใช้ ดื่ ม กิ น เพราะคิดว่ามันคงจะสะอาดขึ้น
พี่น้องครับ พี่น้องรู้อะไรกับกระดาษ ทิ ช ชู่ สีชมพูนี้หรือเปล่า กระดาษ ทิ ช ชู่ อันนี้เป็นกระดาษ ทิ ช ชู่ เกรดต่ำ ร า ค า ถูก ทำมาจาก “กระดาษ ขนาดเอ 4 ที่ใช้เเล้ว” คือจะมีการพิมพ์อะไรต่างๆ นานา เเล้วนำมาบดทำลายเป็นเส้นเล็กๆ จากนั้นเอามาบดเข้าด้วยกัน ทั้งเศษกระดาษหมึกพิมพ์ก็รวมกันในนั้น
จากนั้นก็มาตากเเห้งทำเป็นเเผ่นยาวๆ จะได้เป็นกระดาษที่มีหมึกปนอยู่ใน เ นื้ อ กระดาษ เเต่ว่ากลัวว่า ถ้าเอาไป ข า ย เป็นกระดาษขาว จะไม่ได้ ร า ค า ดี ก็เลยไปย้อมสีชมพู ให้มันดูน่ารัก เเล้วก็มาทำเป็น ทิ ช ชู่ นำออก ข า ย
พี่น้องครับ ยังคิดว่า ระหว่างช้อนซ้อมกับกระดาษ ทิ ช ชู่ สีชมพู อะไรสะอาดกว่ากัน? เเล้วหลังจากที่รู้เเบบนี้ จะใช้ต่ออีกมั้ยครับ?
ทีนี้คงรู้เเล้วนะว่า ระหว่างช้อนส้อมที่วางอยู่เฉยๆ กับการที่เราเอากระดาษ ทิ ช ชู ที่ว่ามาเช็ดช้อนส้อมนั้น อะไรสะอาดกว่ากัน!?
ประเด็นนี้ คุณโน้สพูดถูก เเต่ถูกครึ่งหนึ่ง เพราะอาจไม่มีเวลาเล่าทั้งหมด โดยถ้าจะขยายข้อมูลให้ชัดเจนมากขึ้น คงต้องฟังจากสิ่งที่นายช่างใหญ่ ผู้ทำงานอยู่ในโรงงานผลิตกระดาษ ทิ ช ชู ชื่อดังมา 30 ปี กรุณาให้ความรู้เอาไว้ว่า ทิ ช ชู สีชมพูนั้นรีไซเคิลจากกระดาษ เอ 4 รวมถึงกระดาษที่เราใช้พิมพ์เอกสารต่างๆ จริง เเละกระดาษ ทิ ช ชู ส่วนใหญ่ก็ล้วนมีเเต่กระดาษ เอ 4 ผสมอยู่เช่นกัน
ข้อเเตกต่างอยู่ตรงที่ ยิ่ง ทิ ช ชู คุณภาพดีเท่าไหร่ สัดส่วนการผสมเอ 4 รีไซเคิลลงไปก็จะน้อยลงเท่านั้น เพราะจะมีปริมาณเยื่อไม้มากขึ้น จึงทำให้ เ นื้ อ ทิ ช ชู คุณภาพดีมีความนุ่มสูง ไม่สาก เเต่ ร า ค า เเ พ ง
อย่างไรก็ตาม ก่อนนำเอ 4 รีไซเคิลมาใช้ มันจะถูกทิ้งลงไป ในหม้อต้มเพื่อดึง หรือ ดู ด เอา “หมึก” ออกไป เรียกว่าขั้นตอน “ดี-อิงก์” ทั้งยังต้องผ่านความร้อนถึง 200 องศาเซลเซียส
ฉะนั้นไม่ว่าเชื้อโรค สิ่งสกปรกใดๆ ก็ไม่มีทางเล็ดรอดผ่านกระบวนการนี้ไปได้ ส่วนจุดประสงค์การใส่ “สี” ก็เพื่อกลบ เ นื้ อ ของ ทิ ช ชู ที่ดูไม่ค่อยนวล เเละทำให้ดูน่าใช้ยิ่งขึ้น
เรื่องราวการเดินทางของ ทิ ช ชู สีชมพูในเดี่ยว 8 ก็เอวังด้วยประการฉะนี้ล่ะครับ นำมาเล่าให้ฟังอีกที จะได้ทราบที่ไปที่มากันชัดๆ
เรียบเรียง showbizinfoo