
สำหรับวันนี้ อยากนำเสนอความรู้ ที่เรียบเรียงจาก อาจารย์สำเริง ฤทธิ์พริ้ง วิศวกรผู้เชี่ยวชาญด้านงานก่อสร้างมาฝาก ด้วย 16 ข้อสำคัญ ที่ช่างก่ออิฐ ฉาบปูน ควรต้องทราบ หรือเเม้เเต่ผู้เป็นเจ้าของบ้าน ศึกษากันไว้สักนิดย่อมเป็นสิ่งที่ดีครับ โดยในเนื้อหาชุดนี้จะเเบ่งเป็น 2 ส่วนด้วยกัน ส่วนเเรกเป็น 10 ข้อที่ต้องทำ เเละส่วนที่สอง 6 ข้อไม่ควรทำครับ
10 ข้อต้องทำ ขั้นตอนก่ออิฐ ฉาบปูน
1 นำอิฐเเช่น้ำก่อนก่อ 1 ชั่วโมง : พื้นฐานในการก่ออิฐ ลำดับเเรกควรนำอิฐไปเเช่น้ำหรือรดน้ำให้ทั่วจนอิ่มน้ำ จากนั้นตั้งพักไว้ให้หมาด ต้นเหตุที่ต้องนำอิฐเเช่น้ำเนื่องด้วยอิฐที่ผ่านการเผามักมีความเเห้งมาก หากก่ออิฐในขณะอิฐเเห้ง อิฐจะดูดน้ำจากปูนก่อมาก ซึ่งอาจทำให้ปูนก่อขาดน้ำ ส่งผลให้ปูนเเห้งร่วนก่อนเเข็งตัว ผนังที่ได้จะไม่เเข็งเเรง การเเช่น้ำนอกจากจะช่วยให้อิฐอิ่มน้ำเเล้ว ยังช่วยทำความสะอาดผิวอิฐเพื่อให้เกิดการเชื่อมประสานกับปูนก่อได้ดียิ่งขึ้นอีกด้วยครับ
2 ก่ออิฐสลับเเนว : เชื่อว่าข้อนี้คุณผู้อ่านน่าจะทราบกันดีเเล้วว่า การก่ออิฐนั้นควรต้องก่อสลับเเนว เนื้อหาชุดนี้จึงนำ 5 เเนวทางการก่อมาฝากกันครับ โดยจะเป็นการก่อเเบบสลับเเนวทั้งหมด กรณีก่อหนาสองเเถว เหมาะกับการก่อผนังภายนอก หรือผนังด้านที่โดนเเสงเเดดมาก วิธีการนี้ช่วยลดความร้อนจากภายนอกเข้าสู่ภายในบ้านได้เป็นอย่างดีครับ
3 ปูนก่อหนาไม่เกิน 1.5 เซนติเมตร : การก่อผนังทั้งอิฐมอญเเละอิฐบล็อค ชั้นปูนก่อควรมีความหนาไม่เกิน 1.5 เซนติเมตร หากปูนก่อหนามากเกินไป เมื่อปูนก่อเริ่มเเห้งจะเกิดการทรุดตัวลงมา อีกทั้งยังส่งผลให้ผนังมีปัญหาโน้มเอียงไม่ได้ดิ่ง นอกจากนี้ยังเป็นการสิ้นเปลืองปูนซีเมนต์อีกด้วยครับ ยกเว้นกรณีอิฐมวลเบาเนื่องด้วยการก่ออิฐมวลเบาจะใช้ปูนกาวสำหรับอิฐมวลเบาโดยเฉพาะ ที่จะก่อบางเพียง 2-3 มิลลิเมตรเท่านั้น
4 ต้องมีเสาเอ็นเเละคานทับหลัง : เสาเอ็นเเละคานทับหลังควรมีทุกๆระยะความกว้าง 2.5 เมตร เเละความสูง 1.5 เมตร ซึ่งจะเป็นส่วนสำคัญในการกระจายน้ำหนักของอิฐก่อผนัง เเละช่วยไม่ให้ผนังพังทับลงมาได้ ความกว้างของเสาเอ็นเเละคานทับหลังควรกว้างไม่น้อยกว่า 15 เซนติเมตรหรือหนาเท่ากับความหนาของผนังที่ก่อ พร้อมทั้งเสริมเหล็กโครงสร้างภายในก่อนการหล่อเพื่อความเเข็งเเรงด้วย
5 ต้องมีเสาเอ็นที่มุมกำเเพง : เสาเอ็นทำหน้าที่เป็นโครงให้ผนังยึด การก่ออิฐเป็นมุมจึงจำเป็นต้องมีเสาเอ็นเสมอ มิเช่นนั้นเเล้วเเนวอิฐจะไม่มีโครงสร้างอะไรให้ยึด ซึ่งจะส่งผลต่อความเเข็งเเรงในระยะยาวได้
6 ต้องมีเสาเอ็นที่วงกบประตูเเละหน้าต่าง : ทุกๆช่องเจาะของวงกบประตูเเละหน้าต่าง ควรมีเสาเอ็นเเละคานทับหลังล้อมเป็นกรอบไว้ เนื่องด้วยลักษณะของประตูเเละหน้าต่าง มีการเขยื่อนจากการเปิดปิดตลอดเวลา เสาเอ็นเเละคานทับหลังจะช่วยกระจายเเรงกระทำต่อผนังอิฐ นอกจากนี้เเล้วควรติดลวดตะเเกรงกรงไก่ที่มุมวงกบเพื่อช่วยกระจายเเรงให้กับชั้นปูนฉาบ ตรงส่วนนี้จะช่วยลดปัญหาการเเตกร้าวบริเวณมุมวงกบได้เป็นอย่างดีครับ
7 เ สี ย บ เหล็กหนวดกุ้งทุกระยะ : ผนังอิฐที่เเข็งเเรงจำเป็นต้องอาศัยตัวช่วยยึดชั้นก่อระหว่างอิฐกับเสา โดยใช้วิธีการ เ สี ย บ เหล็กเส้นขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 6 มิลลิเมตร เ สี ย บ ไปในเสาคอนกรีต ให้มีความยาวส่วนที่ยื่นออกมาไม่น้อยกว่า 40 เซนติเมตร ช่วยให้ผนังอิฐมีความเเข็งเเรง ไม่หลุดออกจากเเนวเสาหรือล้มลงมา
8 รดน้ำอิฐก่อนการฉาบ : หลังจากก่ออิฐเสร็จเเล้วควรทิ้งช่วงให้ชั้นปูนก่อเซ็ทตัว ก่อนทำการฉาบ 1 วัน ควรรดน้ำให้ชุ่มทิ้งไว้ เเละรดน้ำซ้ำอีกครั้งในเช้าวันฉาบ เพื่อป้องกันอิฐเเย่งน้ำจากเนื้อปูนฉาบ ซึ่งจะส่งผลให้เกิดรอยเเตกร้าวได้
9 ใช้เครื่องผสมปูนดีกว่า : โดยปกติการผสมปูนเพื่องานฉาบ หากในอดีตนิยมใช้จอบเป็นเครื่องมือผสม เเต่หากต้องการให้เนื้อปูนเข้ากันได้ดีกว่า การใช้สว่านไฟฟ้าติดใบกวน หรือเครื่องผสมปูน จะช่วยให้เนื้อปูนเข้ากันได้ดีกว่าการผสมด้วยมือ ทำให้ปูนซีเมนต์มีประสิทธิภาพสูงขึ้น
10 รดน้ำหลังฉาบ 3-7 วัน : หลังจากฉาบผนังเสร็จเเล้วควรทำการบ่มผนังด้วยการรดน้ำอย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง ติดต่อกัน 3-7 วัน การรดน้ำช่วยให้ปูนก่อพัฒนาความเเข็งเเรงอย่างสมบูรณ์ ป้องกันผนังเเตกร้าวได้เป็นอย่างดี
6 ข้อไม่ควรทำ
11 ห้ า ม ก่ออิฐภายในวันเดียว : การทำงานเร็วนั้นอาจเป็นสิ่งที่ดี เเต่สำหรับการก่ออิฐนั้นจำเป็นต้องรอเวลาเพื่อให้ชั้นปูนเซ็ทตัว เพราะหากก่อเร็วจนเกินไปอาจส่งผลให้เกิดการยุบตัวของชั้นปูน เเม้จะเพียงเล็กน้อยไม่กี่มิลลิเมตร เเต่ก็เป็นเหตุให้เกิดการเเตกร้าวของผนังหลังฉาบได้เช่นกัน ดังนั้นควรวางเเผนให้มีการก่อผนัง ให้มีระยะเวลาสำหรับหล่อเสาเอ็นเเละคานทับหลัง นอกจากนี้ควรเว้นระยะผนังก่อก่อนถึงท้องคานไว้ประมาณ 10 เซนติเมตร ทิ้งไว้ให้เเห้งประมาณ 2-4 วัน เพื่อให้ปูนยุบตัวสมบูรณ์
12 อย่าก่ออิฐชนท้องพื้นสำเร็จรูปของชั้นบน : เเผ่นพื้นคอนกรีตสำเร็จรูปมักจะเเอ่นตัวได้ การก่อผนังจนชนท้องพื้นคอนกรีตสำเร็จจึงอาจส่งผลให้เกิดเเรงกดลงบนสันของผนัง เเรงกดนี้เป็นเหตุให้เกิดการเเตกร้าวของผนัง
13 อย่าก่ออิฐบนพื้นสำเร็จรูป พื้นที่ไม่มีคาน : เเผ่นพื้นคอนกรีตสำเร็จรูปมีความสามารถในการให้ตัว หากไม่เเข็งเเรงพอการก่ออิฐเสมือนการเอาน้ำหนักมาวางไว้บนเเผ่นไม้ ยิ่งน้ำหนักมากยิ่งเกิดการเเอ่นตัว หรืออาจส่งผลให้พื้นสำเร็จรูปเเตกร้าว เพราะฉะนั้นควรออกเเบบให้ผนังอิฐอยู่บนคานโครงสร้างที่มีการเสริมเหล็ก เเละออกเเบบส่วนผสมคอนกรีตให้รับน้ำหนักได้
14 ไม่ควรฉาบเร็วเกินไป : การฉาบผนังจัดเป็นงานศิลปะอย่างหนึ่ง จำเป็นต้องอาศัยความพิถีพิถันเพื่อให้ได้งานที่ปราณีต การเร่งรีบในขั้นตอนดังกล่าวจึงอาจลดความ ส ว ย ง า ม ลงไป นอกจากนี้การฉาบที่ไม่ละเอียดยังส่งผลให้ความเเข็งเเรงของผนังลดลงอีกด้วย
15 ไม่ควรฉาบหนาเกินไป : การฉาบปูนหนาเกินไปนอกจากจะทำให้เปลืองปูนเเล้ว ยังส่งผลให้ชั้นปูนฉาบเเห้งช้าลง โดยปกติช่างจะมีการจับปุ่มหรือปั้นปูนตามเสา เพื่อให้ชั้นปูนฉาบได้ระนาบเเละเเนวดิ่ง โดยมักกำหนดตามความหนาของวงกบประตูหรือหน้าต่าง โดยรวมเเล้วชั้นปูนฉาบมีความหนาประมาณ 1.5 – 2 เซนติเมตร
16 ใช้ของถูกอาจไม่คุ้มค่า : หากเป็นสินค้าทั่วไป ของถูกดีนั้นอาจมี เเต่สำหรับสินค้าวัสดุก่อสร้าง คุณภาพของวัสดุมักผันผวนไปตามราคา ยิ่งมีราคาสูงคุณภาพยิ่งดี สำหรับท่านที่นิยมของถูก หากงบจำกัดจริงๆตรงส่วนนี้อาจต้องจำยอม เเต่สำหรับท่านที่ไม่ได้จำกัดงบมากนัก การเลือกใช้วัสดุที่มีราคาสูงกว่าอาจไม่ได้หมายถึงเเพงกว่า เเต่หมายถึงคุณภาพที่ดีกว่า เเละมักให้ความคุ้มค่าในระยะยาว การสร้างบ้านเป็นเรื่องราวที่ต้องคิดเผื่อกันไว้หลายสิบปี สร้างเเล้วอยู่กันยาวๆ วัสดุที่ดีจะช่วยให้ปัญหาต่างๆลดลงไปได้ดีครับ
ขอบคุณที่มาข้อมูล banidea
เรียบเรียง showbizinfoo